#8 60 กลยุทธ์สร้างเด็กอัจฉริยะ ฉบับ"คุณแม่มือโปร" 頭のいい子が育つママの習慣
60 กลยุทธ์สร้างเด็กอัจฉริยะ ฉบับ"คุณแม่มือโปร" 頭のいい子が育つママの習慣
ผู้เขียน : คะซุฮิโกะ ชิมิซุ แปลโดย ฉวีวงศ์ อัศวเสนา
สรุปเนื้อหาสำคัญ
เพราะลูกจะมีความผูกพันธ์กับลูกมาก จนกล่าวได้ว่าคนที่สร้างนิสัยต่างๆของลูกได้ ก็มีแต่คนที่เป็นแม่ แต่ก็เป็นปัญหาน่าปวดหัวของคุณแม่ทั้งหลายเพราะในหลายๆกรณีคนเป็นแม่เองก็ไม่รู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไร เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นคนดี และมีความสุข หนังสือเล่มนี้จะเป็นคู่มือสำหรับคุณแม่ ผ่านทางข้อแนะนำดีๆ สำหรับทุกๆสถานการ ถึง 60 ข้อ
โดยหนังสือจะแบ่งคำแนะนำเป็นส่วนๆ โดยใน
บทที่ 1 จะกล่าวถึงการเลี้ยงลูกให้เป็น "เด็กที่มีจิตใจบริสุทธิ์"
บทที่ 2 เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กร่าเริงแจ่มใส
บทที่ 3 สังเกตความสามารถของลูก และค่อยให้กำลังใจ
บทที่ 4 กิจวัตรของคุณแม่ "เด็กเก่ง"
บทที่ 5 กิจวัตรของคุณแม่ทำงาน
โดยหนังสือจะแบ่งคำแนะนำเป็นส่วนๆ โดยใน
บทที่ 1 จะกล่าวถึงการเลี้ยงลูกให้เป็น "เด็กที่มีจิตใจบริสุทธิ์"
บทที่ 2 เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กร่าเริงแจ่มใส
บทที่ 3 สังเกตความสามารถของลูก และค่อยให้กำลังใจ
บทที่ 4 กิจวัตรของคุณแม่ "เด็กเก่ง"
บทที่ 5 กิจวัตรของคุณแม่ทำงาน
ตัวอย่างคำแนะนำที่ได้มาจากในหนังสือ
ข้อที่ 12 สอนให้ลูกรู้ว่าความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น
คุณแม่ควรจะ กำหนดให้ลูกทำอะไรสักอย่างเป็นประจำทุกวันอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยในสิ่งที่ลูกควรทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อฝึกให้เด็กมีความพยายามทำสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง อย่างสุดความสามารถ และแน่นอนภูมิใจเมื่อได้ทำมันจนสำเร็จ
ข้อที่ 18 แม่ต้องทำตัวให้รู้สึกเหมือนได้ "เข้าโรงเรียน" หรือ "เริ่มเรียน" ไปพร้อมกับลูกด้วย
สิ่งสำคัญคือ ต้องทำให้เด็กรู้สึกเหมือนได้เรียนไปพร้อมกับเรา โดยอาจจะต้องใช้การกระตุ้นลักษณะ 5 ประการ คือ การอยากมีเพื่อนทำสิ่งต่างๆร่วมกัน, การอยากเลียนแบบ, การอยากเป็นที่ยอมรับ, การอยากแข่งขัน และ การอยากทำในสิ่งที่ท้าทายยิ่งขึ้น
ข้อที่ 22 อย่ากะเกณฑ์ตัวเองมากนัก เรื่องการเลี้ยงลูก
อย่าผลักดันลูกให้ก้าวไปในแนวทางที่ตัวเองอยากให้เป็นจนเกินไป เพราะมันจะส่งผลให้เด็กมีความเครียด และสูญเสียความสดใสตามธรรมชาติ ทั้งยังขาดความรู้สึกอย่างที่เด็กๆ ควรจะมี อย่าให้เด็กเกิดความเข้าใจผิดว่า "แม่รักเราเพราะเราเรียนเก่ง"
ข้อที่ 30 ชมเชยข้อดี มากกว่าตำหนิข้อเสีย
สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือ การให้กำลังใจลูก ลองเปลี่ยนคำพูดจากที่เป็นแนวตำหนิมาเป็นการให้กำลังใจจะทำให้เด็กมีกำลังใจในการพยายามทำให้ดียิ่งขึ้น และแน่นอนว่าการพยายามหาข้อดีมาชมเชยเด็กก็จะทำให้เด็กยิ่งมีความพยายามทำในสิ่งที่ได้รับคำชมมากยิ่งๆขึ้นด้วย
ข้อที่ 35 "รอคอย" "มอบหมาย" และ "เฝ้าดู"
เป็นหลักการในการส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบความสำเร็จด้วยตัวเอง
"รอคอย" คือ การรอจนเด็กมีความต้องการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ด้วยตัวเขาเอง โดยไม่ไปด่วนตัดสินใจแทนตัวเด็ก
"มอบหมาย" คือ การมอบหมายสิ่งที่คุณแม่มั่นใจว่าเด็กสามารถทำได้ด้วยตัวเอง และอีกครั้งที่ต้องย้ำกันว่า เราต้องไม่ยื่นมือเข้าไปทำ หรือช่วยเหลือโดยไม่จำเป็นเด็ดขาด
"เฝ้าดู" คือ การใส่ใจสำรวจว่าลูกของเรามีความถนัดในเรื่องอะไร และพยายามหาโอกาสในการส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสได้ทำในสิ่งเหล่านั้นจนเด็กมีความมั่นใจที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ และถนัด
ข้อที่ 60 ความฝันของแม่
ง่ายๆ คือ คุณแม่ทั้งหลายจงพยายามหาเวลาให้กับตัวเองบ้างเพื่อตามล่าความฝันของตัวเอง อาจจะใช้เวลาเพียงวันล่ะไม่กี่นาที แน่นอนการเลี้ยงลูกเป็นงานที่หนัก และต้องการทั้งเวลา และความใส่ใจเป็นอย่างมาก แต่มันก็สำคัญที่จะต้องมีเวลาเพื่อตัวเองด้วย
ข้อที่ 22 อย่ากะเกณฑ์ตัวเองมากนัก เรื่องการเลี้ยงลูก
อย่าผลักดันลูกให้ก้าวไปในแนวทางที่ตัวเองอยากให้เป็นจนเกินไป เพราะมันจะส่งผลให้เด็กมีความเครียด และสูญเสียความสดใสตามธรรมชาติ ทั้งยังขาดความรู้สึกอย่างที่เด็กๆ ควรจะมี อย่าให้เด็กเกิดความเข้าใจผิดว่า "แม่รักเราเพราะเราเรียนเก่ง"
ข้อที่ 30 ชมเชยข้อดี มากกว่าตำหนิข้อเสีย
สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือ การให้กำลังใจลูก ลองเปลี่ยนคำพูดจากที่เป็นแนวตำหนิมาเป็นการให้กำลังใจจะทำให้เด็กมีกำลังใจในการพยายามทำให้ดียิ่งขึ้น และแน่นอนว่าการพยายามหาข้อดีมาชมเชยเด็กก็จะทำให้เด็กยิ่งมีความพยายามทำในสิ่งที่ได้รับคำชมมากยิ่งๆขึ้นด้วย
ข้อที่ 35 "รอคอย" "มอบหมาย" และ "เฝ้าดู"
เป็นหลักการในการส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบความสำเร็จด้วยตัวเอง
"รอคอย" คือ การรอจนเด็กมีความต้องการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ด้วยตัวเขาเอง โดยไม่ไปด่วนตัดสินใจแทนตัวเด็ก
"มอบหมาย" คือ การมอบหมายสิ่งที่คุณแม่มั่นใจว่าเด็กสามารถทำได้ด้วยตัวเอง และอีกครั้งที่ต้องย้ำกันว่า เราต้องไม่ยื่นมือเข้าไปทำ หรือช่วยเหลือโดยไม่จำเป็นเด็ดขาด
"เฝ้าดู" คือ การใส่ใจสำรวจว่าลูกของเรามีความถนัดในเรื่องอะไร และพยายามหาโอกาสในการส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสได้ทำในสิ่งเหล่านั้นจนเด็กมีความมั่นใจที่จะทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ และถนัด
ข้อที่ 60 ความฝันของแม่
ง่ายๆ คือ คุณแม่ทั้งหลายจงพยายามหาเวลาให้กับตัวเองบ้างเพื่อตามล่าความฝันของตัวเอง อาจจะใช้เวลาเพียงวันล่ะไม่กี่นาที แน่นอนการเลี้ยงลูกเป็นงานที่หนัก และต้องการทั้งเวลา และความใส่ใจเป็นอย่างมาก แต่มันก็สำคัญที่จะต้องมีเวลาเพื่อตัวเองด้วย
ข้อคิดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ สำหรับผม
นี้เป็นหนังสือที่ดีมากเลยสำหรับคุณแม่ (แน่นอนคุณพ่อก็ควรได้อ่านด้วย) มีข้อคิด คำแนะนำดีๆมากมายในหนังสือเล่มนี้ที่สามารถนำมาใช้ในการเลี้ยงลูกได้ มันท้าทายความคิดของเราดีครับ (ในฐานะของคุณพ่อลูกสอง)
ตัวอย่างเช่น เราต้องการให้ลูกของเรามีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง โดยการทานข้าวเอง ซึ่งเป็นปกติที่เด็กในช่วง 2 ขวบจะอยากทำการกินอาหารด้วยตัวเอง ถ้าในช่วงนี้เราไม่ยอมให้เด็กได้ทำเอง เนื่องจากมันจะเลอะเทอะมาก นั้นก็อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็กขาดความพยายามในการทำอะไรด้วยตัวเองในอนาคตก็ได้
การมอบหมายสิ่งต่างๆให้เด็กทำ อาจจะทำให้เรา (พ่อแม่) ต้องเหนื่อยมากขึ้น แต่ถ้ามันทำให้เด็กจะได้เรียนรู้การรับผิดชอบ และมีความพยายามทำในสิ่งต่างๆ ในอนาคต ผมก็คิดว่าเป็นเรื่องที่คุ้มต่อการลงทุน
[เป็นหนังสือที่แนะนำให้อ่านเลยครับ]
ตัวอย่างเช่น เราต้องการให้ลูกของเรามีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง โดยการทานข้าวเอง ซึ่งเป็นปกติที่เด็กในช่วง 2 ขวบจะอยากทำการกินอาหารด้วยตัวเอง ถ้าในช่วงนี้เราไม่ยอมให้เด็กได้ทำเอง เนื่องจากมันจะเลอะเทอะมาก นั้นก็อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็กขาดความพยายามในการทำอะไรด้วยตัวเองในอนาคตก็ได้
การมอบหมายสิ่งต่างๆให้เด็กทำ อาจจะทำให้เรา (พ่อแม่) ต้องเหนื่อยมากขึ้น แต่ถ้ามันทำให้เด็กจะได้เรียนรู้การรับผิดชอบ และมีความพยายามทำในสิ่งต่างๆ ในอนาคต ผมก็คิดว่าเป็นเรื่องที่คุ้มต่อการลงทุน
[เป็นหนังสือที่แนะนำให้อ่านเลยครับ]
ยืมมาจาก TK park Nov'14
Comments
Post a Comment