#6 กลยุทธ์ Lanchester ยุทธการ ล้มเบอร์หนึ่ง ของมือรอง

กลยุทธ์ Lanchester ยุทธการ ล้มเบอร์หนึ่ง ของมือรอง



ผู้เขียน  :  Nawata Ryo  แปลโดย ประวัติ เพียรเจริญ
ISBN  :  978-974-443-531-6
ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2010
จัดพิมพ์โดย  :  สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
จำนวนหน้า  :  257 หน้า
ราคา  :  229 บาท

สรุปเนื้อหาสำคัญ

   เป็นหนังสือที่อธิบายถึง กลยุทธ์ Lanchester ที่ต้นกำเนิดเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในการประเมินในการ ความสามารถในการต่อสู้ อัตราความสำเร็จ และการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในการทางทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 (คศ 1868-1946) โดย F.W. Lanchester โดยในภายหลังจากสงครามได้มีการนำหลักการกลยุทธ์ดังกล่าวมาปรับใช้ในวงการธุรกิจ ซึ่งพัฒนาโดย B.O. Koopman แห่งมหาวิทยาลัย โคลัมเบีย แต่ได้รับการพัฒนา และใช้อย่างแพร่หลายในญึ่ปุนโดย อาจารย์ Taoka Nobuo

   หลักการสำคัญคือ เราต้องเลือกรูปแบบ และพื้นที่ที่เราจะทำการต่อสู้ โดยต้องให้เหมาะกับสภาวะ และศักยภาพที่เรามี โดยถ้าเราเป็นผู้นำ กลยุทธ์ที่เราต้องใช้คือ ตามคู่แข่งให้ทัน ในขณะที่ถ้าหากว่าเราเป็นตามกลยุทธ์สำคัญที่เราต้องทำคือ กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง


หลักการวิเคราะห์ 3C


1.) Customer คือการวิเคราะห์ลูกค้า ซึ่งก็คือการวิเคราะห์เรื่องของตลาด ทั้งในด้านขนาด อัตราการเติบโต ความต้องการของลูกค้า พฤติกรรมการบริโภค เป็นต้น 

2.) Competitor คือการวิเคราะห์คู่แข่งขัน หรือสภาพการแข่งขัน เช่นมาร์เก็ตแชร์ของแต่ล่ะบริษัท จุดเด่นของแต่ล่ะบริษัท การวางตำแหน่งทางการตลาดของแต่ล่ะบริษัท เป็นต้น

3.) Company คือการวิเคราะห์บริษัทของตัวเอง เช่นวิสัยทัศน์ สภาพปัจจุบันของธุรกิจ ทรัพยากรทางธุรกิจ พนักงาน เงินทุน เป็นต้น


ความแตกต่างระหว่างกลยุทธ์ กับยุทธวิธี


กลยุทธ์ คือกิจกรรมที่มองด้วยตาไม่เห็น กล่าวคือเป็นการวางแผนการที่จะสามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของกิจกรรมต่างๆ โดยการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมที่สุด

ยุทธวิธี คือกิจกรรมที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ วิธีในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้เกิดผลขึ้นจริง


กลยุทธ์สำหรับมือรอง คือการสร้างความแตกต่าง ใช้การมุ่งเล็งไปที่เป้าหมายเดียว และสร้างให้เป็นที่หนึ่งในพี้นที่นั้นๆ



เป้าหมาย และความหมายของระดับ market share

73.9%  :  เป็นการครอบครองตลาดแบบเบ็ดเสร็จ มีความมั่นคงสูงมาก ผู้นำตลาดใช้เพียงแค่กลยุทธ์การตามประกบก็เพียงพอ
41.7%  :  เป็นระดับที่มีเสถียรภาพสูงมาก โดยเป็นตัวเลขที่บริษัทส่วนมากนำไปตั้งเป็นเป้าหมาย
26.1%  :  เป็นระดับต่ำที่สุดในการมีเสถียรภาพ โดยหากมีระดับ market share ที่ต่ำกว่านี้จะไม่มีความเป็นเสถียรภาพในตลาดแล้ว (เป็นเป้าหมายขั้นต่ำ สำหรับคนที่อยากจะเป็นผู้นำ)
19.3%  :  เป็นเป้าหมายของผู้ท้าชิงตำแหน่งผู้นำตลาด คือเป็นผู้นำในกลุ่มผู้ตามนั้นเอง
10.9%  :  เป็นระดับต่ำสุดที่สามารถสร้างผลกระทบโดยร่วมต่อตลาดได้ โดยในระดับ 10% นั้นถือว่าเป็นก้าวแรกของการมีรากฐานที่มั่นคง
6.8%  :  เป็นระดับเป้าหมายของการคงอยู่ โดยอาจจะนำมาใช้เป็นจุดในการตัดสินใจที่จะอยู่ หรือถอนตัวออกจากธุรกิจก็ได้
2.8%  :  เป็นจุดชี้วัดของการเข้าสู่ตลาด เป็นจุดต่ำสุดที่ตลาดจะยังคงรับรู้ได้ว่ามีสิ่งนี้อยู่ในตลาด หากเราเข้าสู่ตลาดใหม่ นี้เป็นเป้าหมายที่ต้องไปให้ถึงเพื่อให้ตลาดรับรู้ถึงตัวเรา หากเวลาผ่านไปนานแล้วยังไม่สามารถไปถึงยังจุดนี้ได้ ไม่ว่าจะเพราะอะไรก็ตาม ให้ทบทวนถึงการถอนตัวออกจากธุรกิจ เนื่องจากตลาดไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของเราเลย

หลักในการสร้างความแตกต่างของมือรอง

การสร้างความแตกต่างด้วย "ปรัชญาทางธุรกิจ (วิสัยทัศน์)", "ทรัพยากรบุคคล (ทักษะที่เหนือกว่า)", "การบริการ", "การเลือกพื้นที่ (เจาะลึกในพื้นที่ทางการตลาด)", "ผลิตภัณฑ์" 



ข้อคิดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ สำหรับผม

   
โดยส่วนตัวผมชอบหนังสือเล่มนี้มากครับ เหมาะมากกับคนที่ชอบอ่านหนังสือในแนวกลยุทธ์ธุรกิจ อ่านได้ง่ายไม่น่าเบื่อ ไม่เป็นวิชาการมากเกินไป ได้ให้แนวในการมองเรื่องของส่วนแบ่งตลาดได้ดี ได้เข้าใจถึงการดำเนินกลยุทธ์ของเจ้าตลาด และเบอร์สอง สามได้ดี แนะนำว่าเป็นหนังสือที่ต้องอ่านเลยครับ

ยืมมาอ่านจาก TK park ตุลาคม 2557

Comments