ทำงานกับ(นาย)ญึ่ปุ่นอย่างไรให้ HAPPY = 日本人と一緒に仕事するのはとてもやりやすい。 = #28



ผู้เขียน  :  วิฑูรย์ เทพประดิษฐ์
ISBN  :  978-616-509-377-4
ปีที่พิมพ์  :  2011
สำนักพิมพ์  :  Happy Book
จำนวนหน้า  :  160 หน้า
ราคา  :  150 บาท 

สรุปเนื้อหาสำคัญ
   มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะปกติสำหรับคนไทย ที่จะทำงานในบริษัทของประเทศญี่ปุ่น และแน่นอนว่าจะต้องทำงานร่วมกับเจ้านายคนญี่ปุ่น ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้จะพูดถึงการทำงานร่วมกับเจ้านายคนญี่ปุ่นอย่างไรให้มีความสุข (ไม่ใช่แค่จ้องจะเลียนายนะครับ)

   ลักษณะนิสัย(เฉพาะ) ของคนญี่ปุ่น คือ ความมีระเบียบวินัยเป็นอย่างยิ่งยวด ทุกคนรักษาระเบียบวินัยโดยเฉพาะในเรื่องเวลา และมีความซื่อสัตย์สูง ซึ่งเราต้องยอมรับว่าอาจจะไม่ตรงจริตกับคนไทยสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะในเรื่องการทำตามระเบียบ เพราะทำอะไรตามใจคือไทยแท้ ของเรานี้แหละ เช่นในเรื่องเวลาที่คนญี่ปุ่นถือเป็นเรื่องใหญ่ ต้องไปก่อนเวลาอย่างน้อยสัก 15 นาที ในขณะที่คนไทย การไปสายสัก 5 -10 นาทีถือว่าอยู่ในเกณฑ์รับได้ (และโดยมากเราจะไม่ค่อยแจ้งคู่นัดหมายด้วย หากไปสายสัก 5 นาที) 

   การสอนงานในระบบของคนญี่ปุนมักจะเป็นแบบ "สอนหน้างาน" on the job training คือการสอนงานจริง โดยหัวหน้างาน โดยอาจจะมีข้อเสียคือ บางครั้งตัวหัวหน้างานเองก็ยังมีความรู้ไม่เพียงพอ และอาจจะมีการสอนงานที่ไม่ค่อยถูกต้องนัก 
   แต่โดยหลักการแล้วการแล้ว การสอนหน้างานคือ 
๑ อธิบายถึงสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน
๒ ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
๓ ให้ผู้ถูกฝึกลองลงมือทำ
๔ ตรวจสอบความถูกต้อง โดยหัวหน้างาน และแก้ไขให้ถูกต้อง
๕ เน้นให้ผู้ถูกฝึกสอนถามในสิ่งที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ

   ไคเซ็น (KAIZEN) คือการพัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด กล่าวง่ายๆคือ ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน นี้คือหัวใจของทางประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอาจจะไม่ค่อยตรงกับจริตคนไทยอีกแล้ว เพราะเราเน้นยึดเป้าหมาย ยึดรูปแบบเป็นหลัก แต่หลักไคเซ็นคือ การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ท้าทายเป้าหมายเดิมอยู่ตลอด เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเรื่อยๆ 

"เพิ่มการผลิตอีก 10% ลดของเสีย 5% ต่อปี"

หลักในการปรับปรุงงาน
๑ เลือกหัวข้องานที่เราจะทำการปรับปรุงก่อน (ทำให้ง่ายขึ้น, ทำแล้วปลอดภัยขึ้น เป็นต้น)
๒ เข้าไปเก็บข้อมูลจากสถานที่จริง (สำคัญมากสำหรับคนญี่ปุ่นที่จะต้องไปเห็นสถานที่จริง กับตาของตัวเอง)
๓ ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เราเห็นในแต่ล่ะขั้นตอน (ทำไมต้องทำแบบนี้, ทำไมต้องทำที่นี้, ทำไมต้องเป็นคนนี้ที่ทำ, มีวิธีอื่นอีกหรือไม่ เป็นต้น)
๔ วางแผน และลงมือปรับปรุง (ใช้หลักการตัดลดทอน, การควบรวม, การจัดใหม่ และการทำให้ง่ายขึ้น)
๕ นำเสนอวิธีการใหม่ไปปรับปรุง (หมายถึงการขออนุมัติ และแจ้งผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบ)
๖ รักษาแนวทาง หรือวิธีการใหม่นี้ไว้ (ตรวจสอบวิธีใหม่ว่ายังมีปัญหาอะไรหรือไม่ และขยายผล)

MDWSTOP การสูญเสีย 7 ประการ ที่เราต้องหาวิธีการลด
M  :  Motion การเคลื่อนไหวร่างการที่สูญเปล่า
D  :  Defect  การสูญเสียที่เกิดจากของเสีย ในกระบวนการผลิต
W  :  Waiting การสูญเสียที่เกิดจากการรอการผลิต (คอขวด)
S  :  Stock การมีสต๊อกสินค้า และวัตถุดิบมากเกินไป
T  :  Transportation การสูญเสียที่เกิดจากการขนส่งที่ไม่จำเป็น
O  :  Over Production การผลิตที่มากเกินกว่าความต้องการของลูกค้า ถือเป็นการสูญเสีย
P  :  Process  การสูญเสียอันเกิดมาจากการออกแบบกระบวนการผลิตที่ไม่ดี

   ในหนังสือจะเน้นเกี่ยวกับการจัดการความแตกต่าง ระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่นเป็นหลัก เช่นทัษณะคติในการทำงาน การดื่มหลังเลิกงาน ซึ่งทางคนญี่ปุ่นถือเป็นเรื่องสำคัญ (อันนี้คนไทยน่าจะมไม่มีปัญหา)

Comments