คิดแบบ ลี กวน ยู #35



ผู้เขียน  :  วริศรา ภานุวัฒน์
ISBN  :  978-616-508-963-0
ปีที่พิมพ์ครั้งแรก  :  2015
จัดพิมพ์โดย  :  สำนักพิมพ์ แสงดาว
จำนวนหน้า  :  208 หน้า

ราคา  :  140 บาท

สรุปเนื้อหาสำคัญ

   ต้องบอกตามตรงว่าค่อยข้างจะผิดหวังกับหนังสือเล่มนี้พอสมควร เนื่องจากผมมีความคาดหวังว่าจะได้อ่านหนังสือที่เจาะเข้าไปในวิธีคิด รวมถึงน่าจะมีการยกตัวอย่างการตัดสินใจ รวมถึงอธิบายถึงเหตุ และผลที่ตัดสินใจดังว่า โดยทั้งหมดที่ผมคาดหวังไว้ ไม่มีในหนังสือเล่มนี้ (ผมคิดว่าชือหนังสือตั้งความคาดหวังให้ผมมากเกินไป)

   แต่ไม่เป็นไร เพราะอย่างไรก็ตามในหนังสือก็ได้บอกเล่าชีวะประวัติแบบย่อๆ ของคุณ ลี กวน ยู พ่อผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์ ให้ได้รส ได้ชาต พอสมควร

   ในหนังสือได้ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติของคุณ ลี กวน ยู ตั้งแต่ยังเด็ก จนถึงในช่วงเรียน มาจนถึงการทำงานการเมืองในที่สุด โดยเราสามารถที่จะเห็นได้ว่าคุณ ลี กวน ยู เป็นคนที่หัวดี เพราะสามารถที่จะเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าของโลก อย่าง ลอนดอนสคูล ออฟอีโคโนมิกส์ และ วิทยาลัยฟิทซ์วิลเลียม เคมบริดจ์ โดยจบมาพร้อมกับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วย

   ความฉลาดแรกของสิงคโปร์ที่ผมรู้สึกได้คือ การรู้จัดตัวเองอย่างถ่องแท้ รู้ว่าตัวเองไม่มีทรัพยากรอะไรเลย จำเป็นที่จะต้องมีคนให้ความช่วยเหลือ โดยในยุค 1960 สิงคโปร์เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย แต่ความหวังของคุณ ลี กวน ยู ที่จะเป็นส่วนหนึ่่งของมาเลเซียก็หมดไปอย่างรวดเร็ว เพราะมีการประท้วงเรื่องความเท่าเทียมระหว่างคนเชื้อสายจีน กับคนเชื้อสายมาเลเซีย ประทุขึ้น นั้นทำให้ในที่สุด ในวันที่ 9 สิงหาคม 1965 สิงคโปร์ก็เป็นประเทศเอกราช ที่ต้องดูแลตัวเอง

   ผมชอบวิสัยทัศน์ของคุณ ลี กวน ยู ที่ไม่ยอมแพ้ หลังจากแผนที่จะขอเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซียล้มเหลวไป สิงโปร์โดยคุณ ลี กวน ยู กลับมามองว่า สิงคโปร์มีอะไรที่เป็นทรัพยากรที่น่าจะพาให้ประเทศเล็กๆ เกิดใหม่ และไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรที่สำคัญเลย ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจว่า ทรัพยากรมนุษย์นี้แหละคือคำตอบ คุณ ลี กวน ยู ให้ความสำคัญกับเรื่องการศีกษาเป็นอย่างมาก รวมถึงการควบคุมเรื่องระเบียบวินัยเป็นอย่างมาก ทั้งหมดเพื่อให้สิงคโปร์สามารถที่จะสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูงได้ (แน่นอนเรื่องยาเสพติดต่างๆ ก็ถูกควบคุม และมีบทลงโทษที่รุนแรงก็เพื่อรักษาระดับ คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์นั้นเอง)

   ความโชคดีของสิงคโปร์อาจจะมีอยู่อีกอย่างคือ ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศที่เหมาะกับเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า และการค้าขาย (แน่นอนว่าหากขาดทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพแล้ว ก็คงยากที่จะตั้งตัวเองเป็นศูนย์กลางการค้าได้)

   แนวทางการบริหารประเทศของคุณ ลี กวน ยู มีความาเชื่อว่าต้องมีความโปร่งใส และชอบที่จะใช้มืออาชีพมาบริหารงาน โดยมีการวางมาตราการป้องกันเรื่องทุจริตอย่างรุนแรง เพื่อไม่ให้เกิดการคอร์รัปชั่นเกิดขึ้น (อันนี้แหละมั้งครับ ที่ทำให้ประเทศเล็กๆอย่างสิงคโปร ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ประเทศอีกกว่าค่อนโลกยังพัฒนาไปไม่ได้ถึงไหน)


   การพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างหนึงที่เป็นความคิดที่ล้ำสมัยมากในขณะนั้น คือ การเปิดเสรีทางด้านการเงิน การธนาคาร โดยนอกจากจะอนุญาติให้ธนาคารจากต่างประเทศมาเปิดได้อย่างเสรีแล้ว ยังอนุญาติให้สามารถรับฝากเป็นเงินสกุลต่างประเทศได้อีกด้วย 

   การส่งทอดอำนาจของคุณ ลี กวน ยู ก็เป็นอีกหัวข้อที่น่าสนใจ เพราะถึงว่่าเป็นการส่งต่ออำนาจที่ถือได้ว่า ไร้รอยสะดุด และค่อนข้างจะทำให้ดูเหมือนว่าเขาเลือกผู้นำโดยดูจากความสามารถ ไม่ใช่เลือกจากเครือญาติ (ถึงแม้ผมจะคิดว่าเป็นแผนที่วางไว้ก่อนแล้วก็ตาม) โดยคุณ ลี กวน ยู ลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี และส่งไม้ต่อให้กับคุณ โก๊ะ จ๊ก ตง จากนั้นตำแหน่งก็ตกมาเป็นของคุณ ลี เซียน ลุง (บุตรชายของคุณ ลี กวน ยู)

   แม้จะมีคำชื่นชมคุณ ลี กวน ยู อย่างมากมายก็ตาม แต่ก็เป็นความจริงอย่างหนึ่งว่าในเรื่องการปกครองประเทศของคุณ ลี กวน ยู นั้นดูเหมือนเป็นการผูกขาด เนื่องจากตั้งแต่ก่อตั้งประเทศมาพรรคกิจประชาชนของคุณ ลี กวน ยู ไม่เคยแพ้การเลือกตั้งเลย ยิ่งกว่านั้นทุกครั้งที่เลือกตั้ง แทบจะไม่มีพรรคการเมืองอื่นหลุดเข้ามาทำหน้าที่ฝ่ายค้านเลย (นั้นทำให้นโยบายต่างๆออกมาได้อย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง แต่ก็ทำให้เกิดการผูกขาดเกิดขึ้น)

   สุดท้ายผมชอบคำพูดของคุณ ลี กวน ยู ที่พูดเกี่ยวกับอนาคตของประเทศสิงคโปร์ว่า

"ไม่ว่าคนรุ่นใหม่ของสิงคโปร์ จะเลือกเส้นทางข้างหน้าอย่างไร ผมก็มั่นใจเหลือเกินว่า ถ้าสิงคโปร์ได้รัฐบาลที่งี่เง่า เราก็เจ๊ง และประเทศนี้ก็จะจมลงสู่ความว่างเปล่า อย่างแน่นอน"

   หวังใจไว้ว่าเราก็ควรนำคำพูดนี้ไปคิดอย่างลึกซึ่งนะครับ

สรุป นี้เป็นหนังสือที่อ่านง่ายๆ เหมาะที่จะอ่านเพื่อได้รู้จักกับหนึ่งในสุดยอดผู้นำประเทศ ที่ชือ ลี กวน ยู

Credit ภาพจาก : Oknation, Posttoday

Comments